Home
หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล


หลักการและเหตุผลในการจัดตั้งกลุ่มงานประชาสัมพันธ์

            การประชาสัมพันธ์(Public relation)เป็นหนึ่งในส่วนประสมของการสื่อสารทางการตลาดซึ่งมีความสำคัญอย่างหนึ่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ที่นอกเหนือจากการโฆษณา การขายโดยพนักงานขาย และการส่งเสริมการขาย ทั้งนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสาคาม อยู่ในของหน่วยงานราชการ มหาวิทยาลัยฯ จะไม่สามารถอยู่ในสังคมได้หรืออยู่ได้ยากหากปราศจากการยอมรับและความเข้าใจจากสาธารณชนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในสังคม ดังนั้นจึงจำเป็นที่มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ต้องให้ความสนใจต่อการทำความเข้าใจและสร้างความสัมพันธ์อันดีกับสาธารณชนโดยผ่านสื่อต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สาธารณชนมีทัศนคติ ความเชื่อหรือมุมมองที่ดีต่อมหาวิทยาลัยฯ อันจะส่งผลต่อการดำเนินงานอย่างราบรื่นในระยะยาวของมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
             การประชาสัมพันธ์ จะถูกใช้เพื่อส่งเสริมนักศึกษา บุคลากร สถานที่ แนวคิดและกิจกรรมการดำเนินงานต่างๆ ของมหาวิทยาลัย เช่น การจัดการศึกษา การวิจัย การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมและการบริการสู่ชุมชน ต้องอาศัยการใช้การประชาสัมพันธ์ในการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้ออกไปสู่สายตาสาธารณชน

ความสำคัญในการจัดตั้งกลุ่มงานประชาสัมพันธ์

            1. เป็นกลุ่มงานที่ทำหน้าที่ในการประชาสัมพันธ์เป็นการสื่อสารสองทาง (Two-way communication) เป็นการสื่อสารจากผู้ส่งไปยังผู้รับเกี่ยวกับข่าวสารขององค์การที่ต้องการสื่อสารให้สาธารณชนรับทราบ และเข้าใจ และยังเป็นการสื่อสารย้อนกลับจากผู้รับ คือ สาธารณชน ไปยังองค์การเกี่ยวกับความคิดเห็นที่เกี่ยวกับองค์การ
            2. เป็นกลุ่มงานที่ประชาสัมพันธ์ให้กับกลุ่มเป้าหมายหลายกลุ่ม(Multiple target group) เช่น พนักงาน ลูกค้า ผู้ถือหุ้น ชุมชน รัฐบาล หรือหน่วยงานต่างๆ เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการประชาสัมพันธ์ว่าต้องการประชาสัมพันธ์ไปยังกลุ่มเป้าหมายใดบ้าง
            3. เป็นกลุ่มงานในการประชาสัมพันธ์เพื่อโน้มน้าวใจ ทั้งนี้การประชาสัมพันธ์ต้องตั้งอยู่บนหลักความจริงเพื่อมุ่งให้เกิดความเชื่อถือและปฏิบัติตามด้วยความสมัครใจ
            4. เป็นกลุ่มงานที่ดำเนินงานการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ โดยคาดหวังผลต่อเนื่องในระยะยาวเพื่อให้สาธารณชนมีความศรัทธาและมีความไว้เนื้อเชื่อใจต่อมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม เพื่อให้มหาวิทยาลัยฯ สามารถดำเนินกิจการอยู่ในระยะยาวได้
            5. เป็นกลุ่มงานที่มีการประชาสัมพันธ์อย่างเป็นระบบ โดยจะมีการวางแผน ควบคุม และประเมินผลของการประชาสัมพันธ์ เพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินการประชาสัมพันธ์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
            6.เป็นศูนย์กลางในการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ นวัตกรรม และมาตรฐานด้านระบบบริการวิชาการ ด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม     
            7.เพื่อให้การบริหารจัดการของมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของจังหวัดมหาสารคาม ในการรองรับการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
            8.เป็นงานบริการที่ส่งเสริมและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับระบบการประชาสัมพันธ์การศึกษาของประเทศไทย ให้ทัดเทียมมาตรฐานระดับสากล

ประโยชน์ที่มีกลุ่มงานประชาสัมพันธ์

               1. ป้องกันชื่อเสียงมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม มิให้เสื่อมเสียทั้งนี้หน่วยงานต่าง ๆ จะต้องประชาสัมพันธ์แบบเชิงรุก โดยเผยแพร่ผลงาน ชี้แจงเหตุผลในการดำเนินการต่าง ๆ ทั้งก่อน ระหว่างหรือภายหลังดำเนินการโครงการต่าง ๆ
               2.ก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีในการดำเนินการประชาสัมพันธ์จะต้องคำนึงถึง การเกิด ความเข้าใจอันดีระหว่างกันและกัน
                3. แก้ไขความผิดพลาดหรือกฎระเบียบต่างๆปัญหาความไม่เข้าใจกันอย่างหนึ่ง คือ ระบบราชการมักจะอ้างกฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ จึงทำให้การปฏิบัติงานขาดความรวดเร็วไม่ทันการ จึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดเสมอ ฉะนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องแก้ไข กฎระเบียบต่าง ๆ

ผลกระทบ (ในกรณีที่ไม่มีการจัดตั้งกลุ่มงานประชาสัมพันธ์)

          1.ขาดการแก้ไขความเข้าใจผิดที่เกิดขึ้น เช่น ข่าวลือในด้านลบของมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ซึ่งทำให้สาธารณชนเกิดความเข้าใจผิดต่อองค์กร โดยจะทำการค้นหาสาเหตุและขจัดแหล่งต้นเหตุ โดยหาทางทำความเข้าใจ ชี้แจงเหตุผลให้กระจ่างชัด ให้กับประชาชนได้รับทราบ
          2.ขาดการเผยแพร่กิจกรรมของมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม เพื่อให้สาธารณชนได้รู้ถึงสิ่งที่มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ได้กระทำการอันเป็นประโยชน์ต่อสังคมและชุมชนรอบข้าง เพื่อให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธา และเกิดการสนับสนุนให้ความร่วมมือในการดำเนินงานของกิจการ ให้กับประชาชนได้รับทราบ
          3. ขาดการส่งเสริมและชักจูงใจสาธารณชนให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธาต่อมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ให้กับประชาชนได้รับทราบ
          4. ไม่สามารถอธิบายให้ฝ่ายบริหารหรือฝ่ายจัดการให้ทราบถึงทัศนคติ ประชามติ หรือความรู้สึกนึกคิดของสาธารณชนที่มีต่อมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ให้กับประชาชนได้รับทราบ